ไม่ว่าใคร ๆ ก็ล้วนแล้วอยากจะมีสุขภาพที่ดีไม่ต่างกัน ดังนั้น การดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จึงเป็นวิธีง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนเลือกใช้และที่สำคัญ มันให้ผลลัพธ์ที่ดีซะด้วย โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหารที่ทำให้สุขภาพดีจากภายใน ยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้ทุกวัน
1. เบอร์รี่
แม้ว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จะเคยเป็นผลไม้ที่หาทานได้ยากในบ้านเรา แต่ในสมัยนี้เห็นจะไม่ใช่อย่างนั้นแล้วล่ะค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้เค้ามีขายกันเกลื่อนตามห้างสรรพสินค้า และท้องตลาดบางแห่งด้วยแน่ะ คุณ ๆ รู้ไหมคะว่า ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั้น ช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารได้มากเลยทีเดียว แถมยังมีแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์ และที่สำคัญ ยังมีวิตามิน C ที่ช่วยในเรื่องผิวพรรณและหวัดอีกด้วย
2. ไข่ไก่
ไข่ไก่เป็นสุดยอดอาหารที่หาง่ายมาก ๆ แถมยังราคาถูกอีกแน่ะ คุณ ๆ รู้ไหมว่า ไข่ไก่นั้นเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพสูง ที่ทำให้คุณได้พลังงานแต่ไม่อ้วน แถมมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา อ้อ แถมยังมีลูทีนที่จะป้องกันผิวคุณจากการทำลายของแสงแดดอีกด้วย
3. ถั่ว
ถั่วเป็นแหล่งของเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการส่งผ่านออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย โดยในถั่ว 1 ถ้วย จะให้ธาตุเหล็กประมาณ 16 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ ถั่วยังมีไฟเบอร์ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้ง่ายอีกด้วย
4. อัลมอนต์ แม็คคาเดเมีย และมะม่วงหิมพานต์
เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาของนักโภชนาการ พบว่า ผู้ที่รับประทานเมล็ดพืชเหล่านี้จะมีอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่ได้ทานถึง 2 ปีครึ่งเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีโอเมก้า 3 เอแอลเอ ที่จะส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีด้วย
5. ส้ม
เป็นแหล่งวิตามิน C คุณภาพ ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว และช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค รวมทั้งยังมีไฟเบอร์สูง เป็นแหล่งของแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ ที่จะช่วยปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกทำลาย และเสริมสร้างคอลลาเจนในผิว เรียกว่าคุณประโยชน์ครบครันเลยทีเดียว
6. มันเทศ
อาหารที่หาได้ง่าย แถมยังให้ประโยชน์มากมายกับสุขภาพอีก มันเทศเป็นแหล่งเบตาแคโรทีนชั้นดีที่ช่วยในการบำรุงสายตา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และที่หลาย ๆ คนคิดไม่ถึง คือ มันเทศมีสารต้านมะเร็งสูงอีกด้วยค่ะ
7. บร็อคโคลี่
เป็นแหล่งของวิตามินซี เอ และเค เป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา และมีสารไอโซธิโอไซยาเนทส์ (Isothiocyanates) ที่ช่วยต่อต้านมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ วิตามินเคยังเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย
8. ชา
แม้ว่าชาจะเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ไม่ได้ให้ผลดีต่อสุขภาพเท่าไหร่ แต่รู้ไหมว่า การดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ มะเร็ง และทำให้สุขภาพฟันและกระดูกแข็งแรงขึ้น เพราะในชานั้นมีสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ
9. คะน้า
มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด รวมถึงมีวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สร้างภูมิต้านทานโรคที่ดี นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมเสริมสร้างการทำงานของกระดูก
10. โยเกิร์ต
อาหารสุขภาพที่หลาย ๆ คนมักจะซื้อไว้ติดบ้าน เอาไว้ทานยามหิว และนั่นเป็นสิ่งที่ดีแล้วค่ะ เพราะในโยเกิร์ตนั้นมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี วิตามินบี 12 และโปรตีน ดังนั้น ถ้าคุณทานโยเกิร์ตให้ได้วันละ 1 ถ้วย จะทำให้สุขภาพคุณดีอย่าบอกใครเลยล่ะ
ที่มา :http://health.kapook.com/view16463.html
บันทึก สุวัจนี เพชรคง เลขที่ 7
วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความรู้เบื้องต้นและข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร
ในปัจจุบันนี้กระแสความนิยมในการใช้สมุนไพร นับวันยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากที่มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริโภคควรจะศึกษาและหาข้อมูลต่างๆ ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นๆ ก่อนที่จะเลือกซื้อหามาใช้ ซึ่งความรู้เบื้องต้นและข้อแนะนำในการใช้สมุนไพรนั้น มีดังนี้
การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรนั้นมีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกซ้ำกันมากและพบว่าบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกันจึงจำเป็นต้องรู้จักสมุนไพรและมีการใช้ให้ถูกต้น2. ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผลเมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วยจะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่หากถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้าบางชนิดใช้ต้ม ดังนั้นจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
5. ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น
อาการแพ้ที่เกิดจากสมุนไพร
สมุนไพรมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับยาทั่วไป คือมีทั้งคุณและโทษ บางคนใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยเพราะสมุนไพรมิใช่สารเคมีชนิดเดียวเช่นยาแผนปัจจุบันฤทธิ์จึงไม่รุนแรง (ยกเว้นพวกพืชมีพิษบางชนิด) แต่ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นควรหยุดยาเสียก่อน ถ้าหยุดแล้วอาการหายไป อาจทดลองใช้ยาอีกครั้งโดยความระมัดระวัง ถ้าอาการเช่นเดิมเกิดขึ้นอีก แสดงว่าเป็นพิษของยาสมุนไพรแน่ ควรหยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือถ้าอาการแพ้รุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
อาการที่อาจเกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้
1. มีผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโตๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด)หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง
2. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้ามีอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค ไม่ใช่เพราะยา
3. หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง
4. ประสาทรับความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ
5. ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
6. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองและเมื่อเขย่าจะเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน)หากผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง หรือโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัดบาดทะยัก กระดูกหัก มะเร็ง วัณโรค กามโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเรื้อน ดีซ่าน หลอดลมอักเสบเรื้อรังปอดบวม (ปอดอักเสบ) อาการบวม ไทฟอยด์ โรคตาทุกชนิด ไม่ควรใช้สมุนไพร
แอสไพรินยาธรรมดาที่ไม่ธรรมดา....หากใช้ต้องระวัง!!
ปภัสสร ผลโพธิ์
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
รู้ก่อนใช้แอสไพรินปลอดภัยกว่า
ยาแอสไพริน มีชื่อสามัญว่า แอสไพริน (aspirin) มีชื่อการค้า (ยี่ห้อ) หลากหลาย เช่น แอสไพริน แอสเปนด์ เอนทราริน ทัมใจ บวดหาย บูรา ประสะบอแรด เอเอ็นที ยาแก้เด็กตัวร้อนตราหัวสิงห์ ไวคุลเด็ก เป็นต้น จัดเป็นยาในกลุ่ม “ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์” มีหลายขนาด เช่น 75 มิลลิกรัม 300 มิลลิกรัม 325 มิลลิกรัม โดยมีสรรพคุณ คือ ใช้ลดไข้ บรรเทาอาการตัวร้อนจากสาเหตุต่าง ๆ แก้ปวด บรรเทาอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ในผู้ใหญ่ป้องกันมิให้เลือดจับเป็นลิ่ม ป้องกันการกำเริบของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (โรคหัวใจ)และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (อัมพฤกษ์-อัมพาต) และใช้รักษาโรคปวดข้อรูมาตอยด์ และแก้อักเสบ (ซึ่งต้องใช้ยาขนาดสูง และเป็นประจำ จึงอาจมีผลข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้)
อาการข้างเคียงของแอสไพริน
การใช้แอสไพรินอาจมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง
(1) อาการข้างเคียงชนิดรุนแรง หากเกิดขึ้นต้องหยุดยาและรีบไปพบแพทย์ทันที
เช่น
• ถ่ายดำ ปวดท้องมาก อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ มึนงง สับสน (อาการเหล่านี้คือ การมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร)
• หายใจลำบาก มีผื่นตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก เป็นแผลในปากหรือจมูก เสียงดังในหู ลมพิษ หน้าบวม ตาบวม คันตามร่างกาย (อาการเหล่านี้ คือ การแพ้ยา)
• จ้ำตามผิวหนัง ประจำเดือนมากผิดปรกติ (อาการเหล่านี้ คือ การมีเลือดออกผิดปกติ)
(2) อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง หากเกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องหยุดยา แต่ควรแจ้ง
แพทย์หรือเภสัชกร เช่น
• ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด แสบร้อนในอกแต่ถ้าอาการรุนแรงหรือไม่ยอมหายให้ไปพบแพทย์ทันที
ข้อห้ามในการใช้แอสไพริน
• ห้ามใช้ลดไข้ แก้ปวด ในเด็กและผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ตลอดจนผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส และโรคติดเชื้อไวรัสอื่น เพราะอาจเกิด “กลุ่มอาการรายย์” ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงเนื่องจากตับถูกทำลาย ทำให้สมองบวม ชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
• ห้ามใช้ยานี้แก้ปวดเมื่อยจากการทำงานหนักหรือใช้ติดต่อกันนานกว่า 10 วัน ด้วยตนเอง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารทะลุ
• ห้ามใช้ยานี้หากแพ้ยาแอสไพริน ซาลิไซเลท หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์อื่น ๆ (เช่นไอบูโพรเฟน และไดโคลฟีแนค) หรือเคยใช้ยาเหล่านี้แล้วมีผื่นหรือลมพิษ คันตามผิวหนัง หายใจลำบาก หน้าบวม ตาบวม เป็นต้น
• ห้ามใช้ยานี้ถ้ามีปัญหาเลือดออกหยุดยาก เช่น เป็นโรคไข้เลือดออก เป็นโรค ฮีโมฟิเลีย หรือกำลังใช้ยาบางชนิดซึ่งทำให้เลือดแข็งตัวช้า เช่น วอร์ฟาริน เพราะแอสไพรินทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงแม้ใช้ยาในขนาดต่ำ รวมทั้งไม่ควรใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาสเตียรอยด์และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อื่น ๆ เพราะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายชนิดที่ต้องระวังการใช้ร่วมกับแอสไพริน เช่น ยาบางชนิดที่ใช้ในโรคเบาหวาน เกาต์ ลมชัก มะเร็ง หรือความดันโลหิตสูง จึงต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอว่าท่านกำลังใช้ยาอะไรอยู่
• อย่าใช้ยานี้ก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หากกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เป็นโรคกระเพาะอาหาร ตับ ไต เบาหวาน โลหิตจาง หอบหืด ริดสีดวงจมูก หรือเป็นผู้สูงอายุ เพราะมีความเสี่ยงสูงจากอันตรายของแอสไพริน
ทั้งนี้หญิงมีครรภ์ ไม่ควรใช้แอสไพรินเพราะอาจเป็นอันตรายต่อปอดและหัวใจของทารก ส่วนหญิงให้นมบุตร ห้ามใช้ยานี้ เพราะเด็กจะได้รับยาผ่านน้ำนมแม่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการรายย์ได้
ข้อควรปฏิบัติ ขณะที่ใช้แอสไพริน
• ไม่ควรดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ เพราะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ง่าย
• ถ้าต้องผ่าตัดหรือถอนฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่ากำลังกินแอสไพรินอยู่• เด็กหรือวัยรุ่นที่ต้องใช้แอสไพรินอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาโรคบางชนิดตามแพทย์สั่ง หากมีไข้ให้หยุดกินแอสไพริน และรีบไปพบแพทย์
• ผู้ที่ใช้แอสไพรินติดต่อกันเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย (แม้จะกินยาพร้อมอาหารหรือยาลดกรด หรือดื่มน้ำตาม เพื่อป้องกันกระเพาะอาหารแล้วก็ตาม) ดังนั้น จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
วิธีใช้ยาที่ถูกต้อง
• กินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามอย่างน้อย 1 แก้ว (250 ซีซี) เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหารเช่นอาการแสบท้อง
• ภายใน 10 นาทีหลังกินแอสไพรินไม่ควรเอนตัวลงนอนเพราะยาอาจค้างในหลอดอาหาร ทำให้ระคายเคืองเกิดเป็นแผลได้
• แอสไพรินชนิดผง ควรผสมน้ำ 1 แก้วแล้วดื่ม ไม่ควรเทผงยาใส่ปากโดยตรง เพราะผงยาอาจติดค้างในช่องปากและหลอดอาหาร ทำให้ระคายเคืองเกิดเป็นแผลได้
• อย่ากินยาที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ เช่นยามีกลิ่นน้ำส้มสายชูรุนแรง ให้ทิ้งไป
• อย่ากินแอสไพรินแก้ปวดหัวเป็นประจำหรือจนติดเป็นนิสัย เพราะอาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้น (เช่น ปวดหัวทุกวันตอนเช้า) ซึ่งรักษายาก
ด้วยความที่ยาแอสไพรินมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ทำให้ในปัจจุบันนิยมหันมา ใช้พาราเซตามอลแก้ปวดลดไข้แทน เพราะพาราเซตามอลมีสรรพคุณในการแก้ไข้ แก้ปวดลดไข้ ได้ดีพอ ๆ กัน และไม่ทำให้เป็นโรคกระเพาะแทรกซ้อน ถึงแม้ว่าแอสไพรินจะมีผลข้างเคียงตามมา แต่ประโยชน์ก็มีไม่น้อย เพียงแต่ผู้ใช้ต้องพึงระวังทุกครั้งเมื่อต้องการใช้ยาแอสไพริน และเพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
กาแฟลดความอ้วน เชื่อได้จริงหรือ?
1. โดยปกติแล้ว “กาแฟ” มีสรรพคุณใดต่อร่างกายบ้าง และควรดื่มในปริมาณไหนจึงจะจัดว่า
เหมาะสม ?
ตอบ กาแฟ และชา จะมีสารกาเฟอีน โดยกาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองที่เฉื่อยตื่นตัวมากขึ้น สร้างความกระปรี้กระเปร่า ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้เกิดความทนในการออกกำลังกาย โดยขนาดปกติที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นขนาดที่แสดงฤทธิ์ทางยา ซึ่งจะมี
ผลเสียทำให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น กระวนกระวาย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หงุดหงิดได้ แต่ไม่จัดกาเฟอีนเป็นสารเสพติด เพราะไม่ต้องเพิ่มปริมาณการบริโภคขึ้นเรื่อยๆ และเวลาหยุดบริโภคก็
สามารถหยุดได้ทันที
2. ได้ยินโฆษณาที่ประกาศสรรพคุณ “กาแฟกินแล้วผอม” เชื่อได้หรือไม่ อยู่ในประเภทกล่าวเกินจริง เกินไปหรือไม่ ?
ตอบ การโฆษณาสรรพคุณ “กาแฟกินแล้วผอม” ดังกล่าว ถือเป็นการกล่าวอ้างเกินจริง ซึ่งตาม
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร เนื่องจากโดยปกติ กาแฟ ไม่มีคุณสมบัติในการควบคุมน้ำหนัก อีกทั้งผลิตภัณฑ์ไม่เข้าข่ายเป็นอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก จึงไม่มีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้าง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กาแฟจัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณใช้รักษาบำบัดภาวะโภชนาการเกิน หรือโรคอ้วนได้ การโฆษณากล่าวอ้างดังกล่าวจึงถือเป็นการลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสรรพคุณอาหาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการกล่าวอ้างดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมา อย.เคยได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคหลายราย ถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการกล่าวอ้างในทำนองว่า กินแล้วผอม ต่อมาตรวจพบว่ามีการลักลอบใส่ไซบูทรามีน ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนและเป็นยาควบคุมพิเศษ2 ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขายได้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้นจึงอาจมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดย อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว ซึ่งจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ได้แจ้งผู้ผลิตให้งดผลิตเพื่อจำหน่ายและเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว พร้อมทั้งได้แจ้งเวียนหนังสือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อขอความร่วมมือให้ตรวจสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวแล้ว
3. ส่วนประกอบใดในกาแฟประเภทดังกล่าวที่มีสรรพคุณด้านการควบคุมน้ำหนัก
ตอบ โดยธรรมชาติกาแฟมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ กาเฟอีน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารชนิดนี้ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้สมองที่เฉื่อยตื่นตัวมากขึ้น สร้างความกระปรี้กระเปร่า ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้เกิดความทนในการออกกำลังกาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลังจากดื่มกาแฟเพียง 5 นาที กาเฟอีนจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มีผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ ระบบหายใจทำงานเร็วขึ้น ระบบย่อยอาหารขับน้ำย่อยที่เป็นกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น และระบบสูบฉีดโลหิตโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น แต่ถึงแม้ว่ากาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมาก โดยคาดหวังว่าจะให้ร่างกายผอม หุ่นดีนั้น อาจเกิดอันตรายกับร่างกายเพราะจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ อีกทั้งยังไม่มีรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือที่สนับสนุนว่าการบริโภคกาแฟสามารถลดหรือควบคุมน้ำหนักได้
4. ฉลากข้างกล่องกาแฟที่มีการอวดอ้างว่า ผสมสารสกัดสรรพคุณความงามอาทิ ไฟเบอร์
คอลลาเจน แอลคาร์นิทีน หรือ โครเมียม จะสามารถตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีสารสกัดเหล่านี้อยู่จริง ?
ตอบ อย.ได้มีการเฝ้าระวังโดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันผู้บริโภคถูกหลอกลวง หรือบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย กรณีที่ผลิตภัณฑ์กาแฟมีการอวดอ้างว่าผสมสารสกัดต่างๆไว้บนฉลาก อย.จะส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสารนั้น หากพบว่า ผลิตภัณฑ์กาแฟดังกล่าวไม่มี หรือมีปริมาณสารสกัดเป็นส่วนผสมไม่ตรงตามที่กล่าวอ้างบนฉลาก ถือว่าเป็นอาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดใน3 คุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น จะจัดเป็นอาหารปลอม ตามมาตรา 27 ฝ่าฝืนมาตรา 25(2) โทษตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
5. หากดื่มกาแฟที่อวดอ้างสรรพคุณดังกล่าว จะเกิดโทษอย่างไรต่อร่างกายบ้าง ?
ตอบ ในกรณีบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีการลักลอบผสมไซบูทรามีนนั้น ยาไซบูทรามีนเป็นยาลดความอ้วนและจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ขายได้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนักแต่มีผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 จำเป็นต้องหยุดยา ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดี ผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เป็นต้น
จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาแอบอ้างของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยาจึงไม่สามารถบำบัดโรคได้ บางรายอาจลักลอบใส่ยาแผนปัจจุบัน เช่น ไซบูทรามีน ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ การลดและควบคุมน้ำหนักที่ดีและได้ผล คือ ผู้บริโภคควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย โดยบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคได้ด้วย ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลอกลวงผู้บริโภค เช่น อ้างสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออ้างว่าสามารถลดความอ้วนได้ ขอให้ร้องเรียนมายัง สายด่วน อย. โทร 1556
กองควบคุมอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
อย่ามองข้าม !! 9 อาการเจ็บปวด
อาการเจ็บปวดตามร่างกายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น
ปวดหัว ปวดท้อง ปวดขา ปวดหลัง ฯลฯ ดูเหมือนเป็นอาการปวดธรรมดาทั่วไป แต่จริงๆแล้วอาการปวดเหล่านี้
อาจเป็นอาการขั้นต้นหรือขั้นร้ายแรงของโรคบางอย่าง
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
มาดูกันว่ามีอาการเจ็บปวดแบบใดบ้าง
ที่ไม่ควรมองข้าม หรือปล่อยทิ้งไว้จนยากแก่การรักษา
อาการปวดศีรษะทั่วไปมักเกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว
แต่มีอาการปวดหัวบางชนิดจู่โจมอย่างรวดเร็ว ราวฟ้าผ่า
และถึงแม้ว่าอาการปวดจะหายไปในไม่ช้า แต่การเกิดขึ้นอย่างกระทันหันนี้
อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า มันร้ายแรงมากกว่าอาการปวดศีรษะธรรมดา เช่น
หากปวดหัวจนตาพร่า มองเกือบไม่เห็น นั่นคือ
อาการของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน
นอกจากปวดหัวกะทันหันแล้ว
คนที่มีอาการเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน
จะมีปัญหาด้านระบบประสาทและกระบวนการรับรู้ร่วมด้วย อาทิ พูดหรือเดินลำบาก
หรือยืนไม่ได้เลย
หากมีอาการดังกล่าว
ให้รีบไปพบแพทย์หาสาเหตุ ก่อนที่จะสายเกินไป
การปวดตามข้อต่างๆอย่างเรื้อรัง
อาจมาจากสาเหตุดังนี้
โรคกระดูกพรุน :
โดยทั่วไปเกิดในผู้สูงอายุ
ที่กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อสึกกร่อนอย่างช้าๆต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป
ทำให้กระดูกเสียดสีกันโดยตรงขณะเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดอาการปวด บวม บริเวณข้อต่อ
โรคตับอักเสบ :
นอกจากจะส่งผลต่อการทำงานของตับแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดตามข้ออีกด้วย
บางรายอาจมีการติดเชื้อ เช่น หัดและอีสุกอีใส
ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดตามข้อต่อได้เช่นกัน
โรคข้อต่ออักเสบ :
เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง คือ เม็ดเลือดแดงซึ่งปกติจะเป็นทหารของร่างกาย
คอยดักจับและทำลายเชื้อโรคนั้น กลับมาทำลายกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ พบว่า
โรคนี้เป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้ทุกช่วงอายุ
3. ปวดลูกอัณฑะ
ผู้ชายที่มีอาการเจ็บลูกอัณฑะ
อย่าได้มองข้ามเป็นอันขาด เพราะหากปล่อยไว้นาน อาการจะยิ่งกำเริบหนักขึ้น
เพราะอาจมีสาเหตุจากโรคไส้เลื่อนไปจนถึงโรคมะเร็ง
ทางที่ดีควรรีบพบแพทย์ในทันทีที่มีอาการ
อย่ารอให้อาการเจ็บหายไปเอง เพราะนั่นอาจสายเกินไป
จนทำให้คุณต้องเสียอวัยวะชิ้นสำคัญไป
4. ร้อนซ่า เจ็บ ชา ตามมือและเท้า
หากนั่งไขว่ห้างนานๆ
จะรู้สึกเจ็บชาขาและเท้า ทั้งนี้เพราะการไหลเวียนโลหิตเป็นไปด้วยความลำบาก
แต่เมื่อขยับท่าทางหรือลุกขึ้น อาการดังกล่าวจะหายไป
แต่ถ้ารู้สึกร้อนซ่า เจ็บ ชาตามมือและเท้า
โดยไม่ได้อยู่ในท่ากดทับเป็นเวลานานๆ อาจเป็นเพราะเส้นประสาทเสื่อม ซึ่งเกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดวิตามินบี 12 หรือคนที่เป็นโรคงูสวัด
รวมถึงอาการบาดเจ็บ ติดเชื้อ และได้รับสารพิษ
สิ่งสำคัญคือ
ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าว เพราะเมื่อร่างกายรับความรู้สึกได้น้อยลง
ทำให้โอกาสที่มือและเท้าจะได้รับบาดเจ็บโดยไม่รู้สึกตัว อาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อ
ลามเป็นปัญหาใหญ่
5. ปวดน่อง
อาการปวดน่องมักเกิดขึ้นจากการวิ่งหรือขึ้นบันไดสูงเป็นเวลานานๆ
แต่ถ้าปวดโดยไม่เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บละก็ ควรต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
เพราะอาจมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดที่ขา ทำให้ขาบวม
และในกรณีเลวร้ายสุด อาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง
จนกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
การปวดท้องเป็นระยะๆ
หลังรับประทานอาหารที่ไม่สดสะอาด มีเชื้อจุลินทรีย์เจือปน
เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ แต่หากเป็นการปวดท้องโดยหาสาเหตุไม่เจอ
มันอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะใกล้เคียง เช่น ไต ปอด
หรือมดลูก ที่ทำให้เจ็บช่องท้อง
หากรู้สึกเจ็บท้องด้านขวาล่าง
อาจเป็นเพราะไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งต้องรีบผ่าตัด แต่ถ้าเจ็บด้านขวาบน
แสดงว่าถุงน้ำดีมีปัญหา ส่วนการเจ็บท้องด้านบน พร้อมๆกับปวดหลังด้านบน
อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ตับอ่อนติดเชื้อ บวมอักเสบ
นอกจากนี้ อาการปวดช่องท้องอาจมีสาเหตุจากลำไส้อุดตัน
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจทำให้เนื้อเยื่อลำไส้ตาย รวมถึงตับอักเสบ
ซึ่งทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง
ดังนั้น
หากรู้สึกปวดท้องกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
7. มากกว่าการเจ็บหน้าอก
จริงอยู่..
อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณเตือนภัยของโรคหัวใจ แต่ทว่าวันดีคืนดี
หากรู้สึกปวดกรามทันที นั่นคือสัญญาณเตือนว่า
อาการหัวใจล้มเหลวกำลังมาเยือนหรือเพิ่งเริ่มต้นขึ้น
ความเจ็บปวดจากอาการหัวใจล้มเหลว นอกจากเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าอกแล้ว
ยังมักเกิดที่ไหล่ แขน ท้อง กรามล่าง หรือลำคอ ได้ด้วย ดังนั้น
หากมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และรู้สึกเจ็บบริเวณดังกล่าวกะทันหัน
ให้หยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ทันที และรีบบอกคนรอบข้างให้พาไปพบแพทย์โดยด่วน
8. ปวดหลังส่วนล่าง
อาการปวดหลังส่วนล่างนับเป็นหนึ่งในอาการปวดยอดฮิตของคนยุคนี้
โดยเฉพาะคนวัยทำงาน ซึ่งมักเกิดจากการนั่งผิดท่าทางเป็นเวลานานๆติดต่อกัน
แต่บางครั้ง
อาการปวดเช่นนี้บ่งบอกถึงไตกำลังมีปัญหา อาทิ มีก้อนนิ่ว หรือติดเชื้อ
ซึ่งไตจะบวมจนทำให้รู้สึกปวดหลังส่วนล่าง และหากเกิดเนื้องอกก้อนโตที่ไต
ก็จะมีอาการปวดที่ตำแหน่งเดียว กันนี้
ทางที่ดี
ควรไปพบแพทย์เมื่อรู้สึกปวดหลังบริเวณดังกล่าว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นาน
อาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อไตและชีวิต
9. เจ็บปวดโดยไม่ทราบสาเหตุ
หากเกิดเจ็บปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากอาการไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่กระจายทั่วร่างกาย
และอาจมีอาการร่วมที่พบบ่อย คือ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า นอนหลับยาก
อาการนี้มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)